






วันที่ 30 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุม ศ.ดร.บุญรอด บิณฑสัน อาคารสระบุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่องการขับเคลื่อนโครงการการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนและการยกระดับพื้นที่จังหวัดสระบุรี สู่การสร้างมาตรการส่งเสริมการลงทุน”อุตสาหกรรมความมั่นคงทางอาหาร”หรือ”หุบเขาอาหาร”ของประเทศไทย ระหว่างจังหวัดสระบุรี , บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี , สมาคมธนาคารจังหวัดสระบุรี และหอการค้าจังหวัดสระบุรี โดยนายนพดล ธรรมวิวิวัฒน์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยฯ , นายเอกชัย สัตยานุกุล เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ได้รับเกียรติจาก นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานร่วมพิธีลงนาม (MOU) พร้อมด้วย นายนพดล ธรรมวิวัฒน์ บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด , ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , นางวรรณภา ชินชูศักดิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดสระบุรี , นายเจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี , นายโอภาส เรือนสวัสดิ์ ประธานสมาคมธนาคารจังหวัดสระบุรี , รวมถึงคณะกรรมการผู้เกี่ยวข้องดำเนินงาน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัท ห้าง ร้าน ผู้ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก








ภายหลังพิธีเปิด และลง (MOU) รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้ (สอวช.)กล่าวแสดงความยินดีและเป็นเกียรติที่องค์กรฯได้มีส่วนให้การสนับสนุนโครงการวิจัยศึกษาความเป็นไปได้ ในการลงทุนและยกระดับพื้นที่ จ.สระบุรี สู่มาตรการส่งเสริมการลงทุน “อุตสาหกรรมความมั่นคงทางอาหาร” หรือ “หุบเขาอาหาร” ของประเทศไทย ในครั้งนี้ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง บรรยายในหัวข้อ ทำไมต้อง saraburi food Valley และผังแนวคิด การพัฒนา saraburi food Valley รศ.ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ ผู้เชี่ยวชาญด้าน เศรษฐศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและการลงทุนของ saraburi food Valley
ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย บรรยายในหัวข้อ แนวทางและกลไกการพัฒนาทางกฎหมาย saraburi food Valley ด้านนายนพดล ธรรมวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการวิจัย ฯ เปิดเผย ที่มาและความสำคัญของ “โครงการ วิจัยการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนและการยกระดับพื้นที่ จ.สระบุรี สู่การสร้างมาตรการส่งเสริมการลงทุน “อุตสาหกรรมความมั่นคงทางอาหาร” หรือ”หุบเขาอาหาร” ของประเทศไทย ว่า หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)อยู่ภายใต้ สอวช.ได้ให้ทุนวิจัยกับ บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด (saraburi Development-SBCD) ดำเนินโครงการวิจัย การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนและการยกระดับพื้นที่ จ.สระบุรี สู่การสร้างมาตรการส่งเสริมการลงทุน “อุตสาหกรรมความมั่นคงทางอาหาร” หรือ “หุบเขาอาหาร” ของประเทศไทย ร่วมกับศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง ( Healthy Space forum) เข้ามาร่วมวิจัยในด้านการวางผังเมือง ด้านอุตสาหกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์การลงทุน และด้านกฎหมาย วัตถุประสงศ์เพื่อการเชื่อมโยงรูปแบบและโครงสร้างภาคการเกษตรของพื้นที่ การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เกษตร และปศุสัตว์ การวิเคราะห์และออกแบบแผนผังพื้นที่ food Valley รวมถึงการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของแผนการลงทุน (Feasibility) ในการพัฒนาพื้นที่ Food Valley จ.สระบุรีให้เป็นพื้นที่ต้นแบบเพื่อกำหนดเป็นพื้นที่ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ในการเข้ารับการบรรยายในครั้งนี้ ผู้รับฟังการเข้าบรรยายต่างออกความคิดเห็นในที่ประชุม มีความห่วงใยและกังวลและฝากให้หน่วยงานแก้ไขป้องกันสิ่งแวดล้อมรูปแบบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับจังหวัดสระบุรี




