สระบุรี. ชาวอำเภอแก่งคอย ร่วมบันทึกภาพประวัติศาสตร์ รำลึกชุมทางแก่งคอย ดินแดนประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2.

- Advertisement -

ประชาชน ชาวแก่งคอย ส่วนราชการ องค์กรเอกชน สมาคมชมรม ร่วมบันทึกภาพรำลึก จากปัจจุบันที่จะกลายเป็นอดีต สถานีรถไฟชุมทาง แก่งคอย จุดสำคัญทางยุธศาสตร์ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อไว้เป็นอนุสรณ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ทราบวีรกรรมของบรรพบุรุษไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในอดีตกาล ก่อนจะเปลี่ยนแปลงเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูง
วันที่ 2 เมษายน 2564 ที่บริเวณหน้าสถานีรถไฟแก่งคอย อำเภอแก่งคอยจังหวัดสระบุรี ชาวอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี รวมกันแต่งกายย้อนยุค รำลึกสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ไว้เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของคนแก่งคอย โดยมี นายเอกพร จุ้ยสำราญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี (อดีตนายอำเภอแก่งคอย )ให้เกียรติถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกับ นายดุรงค์ฤทธิ์ ศิริวัฒนพันธ์ นายอำเภอแก่งคอย นายประสิทธิ์ พิบูลย์ชัยสิทธิ์ ประธานพุทธสมาคมปึงเถ่ากงม่าแก่งคอย หัวหน้าส่วนราชการ ทั้งภาครัฐ และภาคองค์กรเอกชน ผู้บริหารสถานศึกษา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

ด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 สัญญาที่ 4 – 7 งานโยธาช่วงสระบุรีแก่งคอย ซึ่งการดำเนินงานก่อสร้างในครั้งนี้จะมีการรื้อถอนพื้นที่ประวัติศาสตร์บางส่วน ที่อยู่ในเขตการรถไฟ เช่น อาคารโรงแรมไทยนิยม และอาคารใกล้เคียง อำเภอแก่งคอยจึงได้ร่วมมือกับพุทธสมาคมปึงเถ่ากงม่า แก่งคอย ได้ จัดกิจกรรมภาพบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวไว้เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของคนแก่งคอย ก่อนที่สถานที่แห่งนี้จะมีการรื้อถอน เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของแก่งคอย เพื่อให้ชาวแก่งคอยได้ทราบข้อเท็จจริง ขอแจ้งข่าวการสร้างรถไฟความเร็วสูงให้ชาวแก่งคอยได้ทราบ การสร้างรถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟทางคู่ แต่จะมีผลกระทบจะต้องรื้อถอนอาคารเก่าหลังสถานี แก่งคอย เช่นโรงแรมไทยนิยม และสโมสรรถไฟ รวมไปถึงบ้านพักรถไฟ จะต้องถูกรื้อถอนเป็นบางส่วน (แต่สถานีแก่งคอยไม่ถูก รื๊อถอน) โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงแรกจะสร้างจาก กรุงเทพ-นครราชสีมา ใช้ความเร็ว 250 กม./ชม.โดยจะมีอาคารสถานีสระบุรีอยู่ใกล้ๆ ห้างสรรพสินค้าโรบินสันสระบุรี ในวันที่ 2 เมษายน 64 จึงได้เปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียง ได้มาถ่ายรูปอาคารต่างๆ หลังสถานีรถไฟไว้เป็นที่ระลึก ก่อนที่ทุกอย่างจะกลายเป็นอดีต ขณะนี้มีการทำการสำรวจเส้นทางและดำเนินการต่างๆตามกฎหมายเพื่อจะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงที่ 2 จากนครราชสีมา-หนองคาย แต่ยังไม่ถึงขั้นการดำเนินการเปิดประมูลงาน ประชาชนที่จะเดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ( สปป.ลาว).ยังไม่สามารถที่จะเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูงได้ เนื่องจากส่วนต่อขยายช่วง หนองคาย-เวียงจันทร์ ยังไม่มีข้อตกลงใดๆกับ สปป ลาว. แต่ในอนาคตประชาชนสามารถจะเดิน ทางได้โดยรถไฟ(ด่วน)ปกติ ขณะนี้การรถไฟ สปป.ลาว กำลังสร้างทางช่วง ท่านาแล้ง-นครหลวงเวียงจันทร์ ภาพรวมการก่อสร้างคืบหน้ามากกว่า 50 เปอร์เซ็น ซึ่งสถานีท่านาแล้ง อยู่ใน สปปล.สร้างเชื่อมต่อกับสถานีหนองคายฝั่งประเทศไทยแล้ว ปัจจุบันก็มีรถไฟวิ่งระหว่าง หนองคาย-ท่านาแล้ง แล้วให้ประชาชน ไทย-ลาว ได้เดินทางไปมาได้วันละ 4 ขบวน ถ้าการก่อสร้างช่วง ท่านาแล้ง-เวียงจันทร์ แล้วเสร็จประชาชนชาวแก่งคอย จะเดินทางจากแก่งคอยไปถึงเวียงจันทร์ได้ทางรถไฟ (ปกติ)ได้อย่างสะดวก ในส่วนของโรงงานมักกะสันขอยืนยันว่าไม่มีแผนงานมาสร้างในพื้นที่แก่งคอย มีเพียงแผนงานการสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ ซึ่งผ่านการประมูลและออกแบบแล้ว แต่ยังไม่สามารถก่อสร้างได้เนื่องจากผู้ประมูลรายอื่นได้ไปร้องเรียนกับ ปปช.การก่อสร้างครั้งนี้ไม่มีผลกระทบใดๆกับประชาชน มีข้อดีคือจะลดปัญหาจารจรด้านสุดถนนวัชรอุทัยกุล และทางตัดก่อนเข้าวัดราษฎร์พัฒนา จะสร้างเป็นอุโมงค์ลอดใต้โรงงานเพื่อลดปัญหาการจราจร ขอให้ประชาชน ติดตามข่าวสารความคืบหน้าในการก่อสร้างต่อไป.

- Advertisement -

- Advertisement -

ร่วมเป็นผู้สนับสนุน Saraburinews.com

โอนเงิน บัญชีกรุงศรี ฯ 149-914-2926 "หนังสือพิมพ์สระบุรีนิวส์"
เพื่อให้เรามีกำลังในการผลิตเนื้อหาสาระแบบนี้ต่อไป ขอบพระคุณมากครับ

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ LINE สระบุรีนิวส์ ที่นี่


เพิ่มเพื่อน

ข่าวแนะนำ

- Advertisement -
- Advertisement -

ข่าวแนะนำ