สระบุรี.สภาส่งเสริมวัฒนธรรมอาเซียน. มรว.จิราคม กิติยากร ประธาน มอบประกาศเกียรติคุณ ยกย่อง เชิดชูเกียรติ “ผู้สืบสานตำนานศิลป์ คติชนวิทยา”สาขาวิชา ศาสนพิธี อักขระเลขยันต์ โหราศาสตร์ พระเวทย์ศาสตร์ ศิลปนาฏยศาสตร์ ที่ โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน(บ้านบุญ)วังม่วง

- Advertisement -
หม่อมราชวงศ์ จิราคม กิติยากร ประธานในพิธี
นางสาวจุฑามาศ ณ สงขลา เจ้าของโบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน(บ้านบุญ )

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 ที่ โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน(บ้านบุญ)บ้านโป่งตะขบ อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี หม่อมราชวงศ์ จิราคม กิติยากร เป็นประธานเปิดงาน”สืบสานตำนานศิลป์คติชนวิทยา”และ ท่านเจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง ที่ปรึกษาอาวุโส สภาส่งเสริมวัฒนธรรมภาคเหนือ โดยมีนางสาวจุฑามาศ ณ สงขลา เจ้าของโบสถ์พราหมณ์ เทวสถานบ้านบุญ ต้อนรับและกล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจากผู้แทนศาสนาต่างๆ เช่น ศ.ดร.บิชอป สุรพล บุญประถัมภ์ ศาสนาคริสต์,ดร.ประเสริฐ สุขศาสนน์กวิน ศาสนาอิสลาม,อมรินทร์ ปิยะสัจจะเดช ศาสนาซิกข์,สถิตย์ กุมาร ศาสนาฮินดู,ดร.ประกาย ณ สงขลา ศาสนาพุทธ,เข้าร่วมบรรยายแลกเปลี่ยน ความรู้ เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีความรู้ ความเข้าใจหลักคำสอนของแต่ละศาสนาและความเชื่อ นอกจากนั่นภายในงาน ได้มีพิธีมอบเกียรติบัตรให้กับ คุรุอาจารย์ผู้ประกอบสัมมาอาชีพ ใน สาขาวิชา ศาสนพิธี อักขระเลขยันต์ โหราศาสตร์ พระเวทย์ศาสตร์ ศิลปนาฏยศาสตร์ ที่มาจากจังหวัด ต่างๆ ทั่วประเทศ เข้าร่วมพิธีมากกว่า 2,000 คน

วัตถุประสงค์ของสภาส่งเสริมวัฒนธรรมอาเชียน
1 เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
2 ช่วยเหลือสนับสนุนงานทางราชการและการปฏิบัติงานขององค์กรต่าง ๆ ในการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
3 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เยาวชน และบุคคลทั่วไปเข้าใจหลักการปฏิบัติตามประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างถูกต้อง
4 ช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆของทุกศาสนาเพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน
5 รวบรวมผู้มีความรู้ด้านคติชนวิทยาแขนงต่างๆ ประจำแต่ละท้องถิ่นเข้าไว้เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เพื่อเป็นการยกย่อง ให้เกียรติและรักษาไว้ซึ่ง ความรู้ในแขนงนั้น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนรุ่นหลัง

- Advertisement -

สภาส่งเสริมวัฒนธรรมอาเซียน จึงได้ก่อตั้งสถานธรรมขึ้นภายใต้ชื่อ “เทวสถานบ้านบุญ” เป็นโบสถ์พราหมณ์เพื่อใช้ประกอบศาสนพิธี ในวันสำคัญต่าง ๆ และยังเป็นสถานที่สอนด้านพิธีกรรมทางศาสนา สภาส่งเสริมวัฒนธรรมอาเซียน ได้จัดงาน “สืบสานตำนานศิลป์คติชนวิทยา”เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถในแขนงวิชาต่าง ๆ ด้านคติชนวิทยาและจัดกิจกรรมสืบสานประเพณี วัฒนธรรม ที่หาดูยาก อันสืบสานมาแต่โบราณให้ได้ชมอีกหลากหลาย
กิจกรรม ศาสนสัมพันธ์รวมใจภักดิ์ ซึ่งเราได้เชิญตัวแทนของศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ ฮินดู และซิกซ์
มาอยู่ร่วมกัน กิจกรรม ศาสนสัมพันธ์รวมใจภักดิ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่าทุกศาสนาในประเทศไทยนั้น มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเสมอมา
เพื่อแสดงให้เห็นว่าทุกศาสนามีความเท่าเทียม เสมอภาคกัน
เพื่อให้ทุกท่านเห็นถึงความสำคัญของศาสนา ซึ่งแต่ละศาสนานั้นถือกำเนิดและสืบทอดคำสอนต่อกันมาอย่างยาวนาน
เพื่อตอกย้ำให้ผู้นับถือศาสนาทุกทนได้ตระหนักว่าในยามที่ประเทศชาติ หรือโลกเข้าสู่ภาวะวิกฤต ศาสนาคือเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจก่อเกิดความสงบและสันติให้แก่ทุกสรรพสิ่งอย่างแท้จริง

- Advertisement -

สำหรับพุทธสถาน และ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ (บ้านบุญ) บ้านโป่งตะขบ ต.วังม่วง อ.วังม่วง จ.สระบุรี สร้างขึ้นในพื้นที่ ที่มีความเชื่อว่าเป็นแหล่งวัฒนธรรมโบราณในอดีต เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาพุธและพราหมณ์ เป็นอาคารสองส่วน ส่วนหน้าใช้ประกอบพิธีพุทธ ส่วนในใช้ประกอบพิธีพราหมณ์ รูปแบบภายนอกเป็นอาคารทรงขอม สำหรับในงานพิธีในครั้งนี้ ได้มีการจัดพิธีบวงสรวงกราบไหว้บูชาเทพเทวา ครูบาอาจารย์ พิธี กวนสีผึ้ง “อนันตเสน่หาวาจาเศรษฐี” มี ทนายอนันต์ชัย ไชยเดช (ทนายกระดูกเหล็ก) เป็นประธานจุดเทียนมนต์พระเวทย์ พิธีกวนสีผึ้ง 4 ภาคแบบโบราณ เป็นพิธีกวนสีผึ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และต่อด้วยพิธีเทวาภิเษก ไอ้ไข่ รุ่น “อนันตเศรษฐี” เป็นต้น

- Advertisement -

สำหรับหลักฐานแหล่งโบราณคดี จากสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยาได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจเบื้องต้นพบว่า บ้านโป่งตะขบเป็นชุมชนโบราณ ที่ปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยและหลักฐานเกี่ยวกับการฝังศพของคน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยโลหะ หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย โดยพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ฝั่งศพตั้งอยู่ใกล้กัน อารยธรรมโบราณที่มี อายุประมาณ 3,300 ปี มาแล้ว หลักฐานสำคัญได้แก่การขุดพบ การฝังศพในหลุมที่มีดินฉาบผนังหลุม และโบราณวัตถุประเภทสำคัญได้แก่ เศษภาชนะดินเผาตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ เศษภาชนะดินเผาตกแต่ง ด้วยการทาน้ำดินสีแดง ขวานหินขัดขนาดเล็ก และเศษกำไลข้อมือทำจากหินอ่อนสีขาว นอกจากนี้ ยังพบเศษกระดูกสัตว์หลายชนิด เช่น วัวควาย เก้ง กวาง และหมู โบราณวัตถุเหล่านี้ บ่งชี้ว่าแหล่งโบราณคดี โรงเรียนบ้านโป่งตะขบอาจเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย นั่นคือมีอายุไม่น้อยกว่าสามพันปีมาแล้ว

- Advertisement -

ร่วมเป็นผู้สนับสนุน Saraburinews.com

โอนเงิน บัญชีกรุงศรี ฯ 149-914-2926 "หนังสือพิมพ์สระบุรีนิวส์"
เพื่อให้เรามีกำลังในการผลิตเนื้อหาสาระแบบนี้ต่อไป ขอบพระคุณมากครับ

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ LINE สระบุรีนิวส์ ที่นี่


เพิ่มเพื่อน

ข่าวแนะนำ

- Advertisement -
- Advertisement -

ข่าวแนะนำ