

นายแพทย์รุ่งฤทัย มวลประสิทธิ์พร นายแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า สระบุรีช่วงเข้าสู่ช่วงฤดูฝน นอกจากการพบการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกแล้ว ยังมีโรคไข้ปวดข้อยุงลาย พบผู้ป่วยแล้ว 9 ราย (ข้อมูลวันที่ 25 กรกฎาคม 2563) โรคไขปวดข้อยุงลาย หรือ เรียกอีกอย่างว่า (โรคชิคุนกุนย่า) เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหนะ เกิดจากเชื้อไวรัส เคยแพร่ระบาดในหลายพื้นที่ และเคยแพร่ระบาด ในประเทศไทย เมื่อ 10 ปีก่อน ทางภาคใต้ของประเทศไทย พบโรค ครั้งแรกที่ แอฟริกา โดยชื่อ โรคชิคุนกุนยา เป็นภาษาแอฟริกา ที่หมายถึง เดินจนตัวงอ เพราะโรคนี้มีอาการเด่นมากคือ ปวดข้อมาก จนต้องเดินจนตัวงอ อาการของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ผู้ติดเชื้ออาจมีไข้สูงและมีอาการเด่นคือ ปวดข้อมาก บางรายอาการปวดจนข้อบวม อาจมีอาการตาแดงและผื่นแดงขึ้นตามตัวร่วมด้วย แต่ไม่ได้มีอาการช็อกเหมือนเป็นโรคไข้เลือดออก ระยะเวลาของอาการปวดข้อแตกต่างกันไป ของผู้ป่วยแต่ละราย บางรายหายไข้ ก็หายปวด บางรายก็ปวดต่อไป สามารถปวดข้อได้นานสุดถึง 1 ปี ข้อที่มักปวดคือ ข้อมือกับข้อนิ้วมือ




ระยะการฟักตัวของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หลังจากถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด เชื้อจะใช้เวลาฟักตัว 3-7 วัน ผู้ป่วยเริ่มมีไข้สูงมากและอ่อนเพลีย แล้วหลังจากนั้นเวลา 2-5 วัน หลังไข้ขึ้นก็จะมีอาการปวดข้อ และผื่นแดงมักเกิดหลังจากมีไข้ไปแล้ว 3 วัน อาการแทรกซ้อนของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย มีอาการทำให้สมองอักเสบหรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้
การรักษาโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หากมีไข้หรือปวดข้อ ให้กินยาแก้ปวดและลดไข้ พาราเซตามอล อย่าซื้อยากินเอง ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค

ป้องกันโดยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย มาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค เก็บขยะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุ่งลายเกาะพัก เก็บน้ำให้มิดชิดไม่ให้ยุงวางไข่ ขัดล้างไข่ยุงลายตามขอบภาชนะที่ใส่น้ำ ใส่ปลากินลูกน้ำ ระหว่างไม่ให้ยุงกัดเช่น นอนกางมุ้ง ทายากันยุง สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลาย เช่นไข้เลือดออก ไข้ออกผื่นจากไวรัสซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หากมีอาการหรือมีข้อสงสัยว่าตนเองป่วยเป็นไข้ปวดข้อยุงลาย ควรรีบ ปรึกษาเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข หรือ พบแพทย์ทันที


ด้วยความห่วงใยจาก สำนักงานสาธารณสุขสระบุรี โทรศัพท์ 036223118