สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ตรวจเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามพระดำริสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มอบสิ่งของ พันธุ์พืชและเยี่ยมชมการปลูกผักสวนครัว ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่วัดพระพุทธฉาย


วันนี้ (1 กรกฎาคม 2563) เวลา 12.30 น. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์กรรมการมหาเถรสมาคมและ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายณัฏฐชัย ศรีรุ่งสุขพินิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นางวิไลวรรณ ไกรโสดา รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และ ดร.วันดี กัญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ได้ตรวจเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามพระดำริสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พื้นที่ วัดพระพุทธฉาย ต.หนองปลาไหล อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี




สำหรับศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของวัดพระพุทธฉาย ได้มีการจัดตั้งโรงทานแจกจ่ายอาหารแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ และจัดทำกิจกรรมปลูกผักสวนครัว ตามโครงการ “สวนครัวนำสุขพอเพียงเพื่อเพียงพอ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โอกาสนี้ เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้กล่าวสัมโมทนียกถาการช่วยเหลือกันเมื่อยามมีทุกข์และชื่นชมคณะสงฆ์ พุทธศาสนิกชนที่ร่วมมือร่วมใจกันดำเนินโครงการดังกล่าว



จากนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์เจิมพระพุทธรูป4 ปางประจำซุ้มมณฑปพระพุทธบาท พราราชธีราภรณ์รองเจ้าคณะจังหวัดสระบุรี เจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉายคณะกรรมการวัดและผู้อุปภัมภ์ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มอบไม้ยืนต้นแด่เจ้าคณะอำเภอ 13 อำเภอ และมอบสิ่งของให้แก่ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบ หมู่บ้านละ 1 คน ขณะที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ถวายหน้ากากอนามัย เจลล์แอลกอฮอล์ล้างมือ และเครื่องดื่ม แด่ เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เพื่อมอบให้แด่พระภิกษุสงฆ์ในพื้นที่ต่อไป



นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นตามตามพระดำริสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นโครงการที่ดีมากที่วัดและชาวบ้านได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มีการปลูกพืชผักสวนครัวแบ่งปันกันเอง ชาวบ้านช่วยกันดูแล


จากนั้นคณะได้เยี่ยมชมโครงการ “สวนครัวนำสุขพอเพียงเพื่อเพียงพอ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ร่วมปลูกต้นไม้ ปล่อยพันธุ์ปลา และหว่านข้าวลงแปลงนาโยนสาธิต เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชุมชนในพื้นที่ต่อไป